แต่งกายเลียนแบบพระ - ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208

 

 
แต่งกายเลียนแบบพระ
 
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 208 บัญญัติว่า
"ผู้ใดแต่งกายหรือใช้เครื่องหมายที่แสดงว่าเป็นภิกษุ
สามเณร นักพรต หรือนักบวชในศาสนาใด โดยมิชอบ เพื่อให้
บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นบุคคลเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"
กรณีที่พระภิกษุถูกจับสึกเพราะถูกดำเนินคดีอาญา
แล้วกลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุอีก โดยอ้างว่ายินยอม
เปลื้องจีวรเพื่อต่อสู้คดี ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่ 1789/2542 ว่า
ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 29 การ
สละสมณเพศเพราะถูกจับในข้อหาคดีอาญาแยกได้เป็น 3
กรณี คือ
1. เมื่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่เห็น
สมควรให้ปล่อยชั่วคราวและเจ้าอาวาสไม่ยอมรับตัวไว้ควบคุม
พนักงานสอบสวนดำเนินการให้สละสมณเพศได้
2. พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการเห็นว่าไม่
ควรปล่อยชั่วคราวและไม่ควรมอบตัวให้เจ้าอาวาสรับตัวไป
ควบคุม ก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้ และ
3. พระภิกษุรูปนั้นไม่ได้สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งหรือ
เป็นพระจรจัด ก็ดำเนินการให้สละสมณเพศได้
กรณีของจำเลยปรากฏว่า ร.ต.ท. ส. นำจำเลยไปพบ
พระ ท. เจ้าอาวาสวัดและมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะ และพระ
ภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูป เพื่อสอบสวนจำเลยแล้วไม่ได้ความ
ชัดว่าขณะนั้นจำเลยจำพรรษาและสังกัดวัดใด จำเลยยินยอม
สึกจากการเป็นพระภิกษุโดยเปลื้องจีวรออกแล้วแต่งกายด้วย
ชุดขาว จึงถือได้ว่าจำเลยได้สละสมณเพศแล้วในขณะนั้นตาม
พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฯ มาตรา 29 การที่จำเลยอ้างว่ายินยอมเปลื้อง
จีวรออกเพื่อต่อสู้คดี ไม่เป็นเหตุให้จำเลยซึ่งได้สละสมณเพศแล้ว
กลับมาเป็นพระภิกษุใหม่อีก ดังนั้น เมื่อภายหลังต่อมาจำเลย
กลับมาแต่งกายเป็นพระภิกษุเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนเป็นพระ
ภิกษุ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. ม.208
คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 เดือนและไม่รอ
การลงโทษ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ส่วนศาลฎีกาพิพากษา
แก้เป็นว่าให้จำคุก 3 เดือน
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ เล่ม 4 หน้า 175)

ความคิดเห็น